Page 18 -
P. 18

ดร.อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์ุ   17




                 อย่างไรก็ตามพบว่าการก�าหนด KPIs จะมีข้อจ�ากัดเนื่องจากไม่ได้ก�าหนด
                 ให้ครอบคลุมในปัจจัยอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น การก�าหนด KPIs ขององค์การจะ
                 มุ่งเน้นไปที่รายได้ ก�าไร ต้นทุน หรือตัวเงินเป็นหลัก ในขณะที่ KPIs ของ

                 หน่วยงานจะมุ่งเน้นการวัดผลงานที่แตกต่างกันตามลักษณะงาน เช่น KPIs
                 ของหน่วยงานขายจะเน้นไปที่ยอดขาย ก�าไรที่ได้จากการขาย จ�านวนลูกค้า
                 ใหม่ ๆ ที่หาได้ แต่ KPIs ของหน่วยงานผลิตจะเน้นไปที่ปริมาณการผลิตได้
                 ตามแผน อัตราผลผลิตต่อคน เปอร์เซ็นต์ของเสียที่เกิดขึ้น เปอร์เซ็นต์ Yield

                 และเปอร์เซ็นต์การ Rework เป็นต้น

                       และจากการที่ KPIs ก�าหนดขึ้นและเน้นในบางเรื่อง จึงส่งผลให้เกิด
                 นักคิดที่เสนอไอเดียว่าการก�าหนดตัวชี้วัดความส�าเร็จในการท�างานนั้นควร

                 ก�าหนดให้สมดุลกันในทุก ๆ ด้าน โดยมองให้ครอบคลุมในปัจจัยต่าง ๆ ที่
                 เกี่ยวข้อง ไม่ได้วัดเพียงแค่ตัวเงินอย่างเดียว หรือวัดเพียงแค่กระบวนการ
                 ท�างานเท่านั้น การวัดผลงานสามารถก�าหนดให้ครอบคลุมในทุก ๆ มิติ
                 จึงมีนักคิดที่คิดกรอบแนวทางการวัดผลงานที่เรียกว่า BSC เกิดขึ้นในช่วง
                 ถัดมาและถูกน�ามาใช้ควบคู่ไปกับการก�าหนด KPIs



                 3.  BSC (Balanced Scorecard)



                       BSC หรือ Balanced Scorecard เป็นการวัดผลงานที่เน้นการน�า

                 กลยุทธ์ขององค์การไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation) เป็น
                 แนวคิดที่คิดค้นโดย Professor Robert Kaplan ซึ่งเป็นอาจารย์ประจ�าจาก
                 มหาวิทยาลัย Harvard และ Dr.David Nortan เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการ
                 แนวคิดเรื่อง BSC ได้รับความนิยมมากเมื่อมีการตีพิมพ์ผลงานเรื่องนี้ใน

                 วารสาร Harvard Business Review เมื่อปี ค.ศ. 1992 ต่อมา Kaplan และ
                 Nortan ได้เขียนหนังสือชื่อ “Balanced Scorecard” ที่มุ่งเน้นการน�าแนวคิด
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23