ด้านบัญชีและงบประมาณ - บริหาร ควบคุม ตรวจสอบ ดูแลการทำงานของแผนกบัญชี เพื่อยืนยันรายการรับ-จ่าย การออกเอกสารใบกำกับภาษีหรือเอกสารอื่นๆทีเกี่ยวข้อง และการบันทึกบัญชี ให้ถูกต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีและภาษี
- ควบคุมและตรวจสอบระบบบัญชีทรัพย์สินให้เป็นไปตามความเป็นจริงและเป็นปัจจุบันเสมอ
- ตรวจสอบการจัดการปิดบัญชีงบการเงินบริษัทและกลุ่มบริษัท (Consolidated Financial Report) ประจำรายเดือนและรายปี เพื่อนำเสนอรายงานงบการเงิน (งบกำไรขาดทุน งบดุลและงบกระแสเงินสด) ต่อผู้บริหารตามเวลาที่กำหนด รวมถึงรายงานภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง (รายเดือนและรายปี) เพื่อนำส่งหน่วยงานราชการ
- ตรวจสอบการจัดทำงบประมาณรายปีและระบบการบริหารภาษีของกลุ่มบริษัท รวมถึงควบคุมการใช้งบประมาณฯให้เป็นไปตามแผนงานที่ได้รับอนุมัติ พร้อมทั้งตรวจสอบรายงานเปรียบเทียบการใช้งบประมาณที่เกิดขึ้นจริงกับแผนงานฯ ต่อผู้บริหารตามเวลาที่กำหนด
- ประสานงานและตววจสอบข้อมูลแก่ผู้สอบบัญชีและสรรพากรและหรือหน่วยงานภายนอก (ถ้ามี)
- ตรวจสอบ ปรับปรุงและพัฒนารายงานข้อมูล รวมถึงการออกแบบรายงานต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน และสนับสนุนตัดสินใจของผู้บริหาร
ด้านต้นทุน 1.ดูแลงานด้านบัญชีต้นทุนและสามารถวางระบบบัญชีต้นทุน เพื่อคำนวณต้นทุนของสินค้าแต่ละชนิด 2.กำหนด ตรวจสอบและปรับปรุงค่า Standard Cost แต่ละประเภทตามรอบที่กำหนด หรือตามความเหมาะสมของสถานการณ์เฉพาะ (Ad-Hoc) ในระบบสารสนเทศขององค์กรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปตามนโยบายขององค์กร 3.ตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวของสินค้าและสามารถหามูลค่าของวัตถุดิบ (RM), งานระหว่างทำ (WIP), และสินค้าสำเร็จรูป (FG)และกระทบยอดในระบบสารสนเทศขององค์กร 4.ตรวจสอบ คำนวณ และปิดยอดต้นทุนสินค้าทั้งหมดที่เป็น Actual Cost ผ่านระบบสารสนเทศขององค์กรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (ปันส่วนอย่างเหมาะสม) และเป็นไปตามนโยบายขององค์กร 5.ตรวจสอบงานวิเคราะห์ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงกับต้นทุนมาตรฐานที่เกิดขึ้น โดยวิเคราะห์ถึงสาเหตุและปัจจัยต่างๆอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามมาตรฐานบัญชี นโยบายทางบัญชี และนโยบายขององค์กร 6.ตรวจสอบรายงานการผลิตที่เกี่ยวข้องกับบัญชีต้นทุนที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายบริหาร บัญชีและการเงิน ด้านการเงิน 1.ควบคุมและตรวจสอบรายงานกระแสเงินสดรับ-จ่าย ประจำงวด (รายเดือนและรายปี) เพื่องานบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2.บริหาร ควบคุม และตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับการจัดหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เช่น สถาบันการเงิน เพื่อสนับสนุนการเติบโตหรือการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัทตามนโยบายและหรือแผนงานที่กำหนดไว้ 3.บริหารความเสี่ยงด้านการเงิน เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 4.ปรับปรุงแผนนโยบายทางการเงินให้เหมาะสมและคล่องตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และปรับปรุงพัฒนาระบบการเงิน และการบริหารงานการเงินให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง 5.ควบคุมและตรวจสอบการจัดทำและรายงานวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบกับกลุ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน 6.ตรวจสอบแบบจำลองทางการเงิน (Financial Model) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน พร้อมติดตามผลตอบแทนจากการลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายการลงทุน โดยนำเสนอรายงานฯให้แก่ผู้บริหาร
|