Page 15 -
P. 15

15



                                             การตั้งเป้าหมายงานจากตัวพนักงานของ OKRs ถือเป็นจุดเด่นแต่ก็

                                             สร้างความน่ากังวลเหมือนกัน อาจารย์มีค�าแนะน�าในการตั้งเป้าหมาย
                                             ไหมครับ

                                                   พี่เสนอแนะว่าก่อนที่จะให้พนักงานตั้งเป้าหมายของตนเอง พี่อยากให้

                                             องค์การก�าหนดให้ชัดก่อนว่า OKRs ขององค์การคืออะไร จะได้ไม่ก�าหนด
                                             OKRs ของพนักงานไปคนละทิศคนละทางกับองค์การ และเมื่อได้ OKRs ของ
                                             องค์การแล้ว ก่อนที่จะลงถึงพนักงาน พี่มองว่าหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา

                                             ก็ต้องมี OKRs นะคะ แล้วหัวหน้างานจะต้องสื่อสารเพื่อชี้แจงว่า OKRs ของ
                                             ตนเองคืออะไร และให้อิสระกับพนักงานในการก�าหนด OKRs ของตนเองแต่

                                             ต้องตอบโจทย์หรือช่วยให้ OKRs ของหัวหน้างานบรรลุผลส�าเร็จด้วยนะคะ
                                             โดยหัวหน้าจะต้องให้พนักงานมาอธิบาย OKRs ของตนเองว่าจะช่วย OKRs
                                             ของหัวหน้าและช่วยให้ OKRs ขององค์การประสบความส�าเร็จได้อย่างไร







                              องค์การก�าหนดให้ชัดก่อนว่า OKRs




                      ขององค์การคืออะไร จะได้ไม่ก�าหนด OKRs



                      ของพนักงานไปคนละทิศคนละทางกับองค์การ







                                             รบกวนอาจารย์ยกตัวอย่างเล็กน้อยครับ

                                                   ได้เลยค่ะ ตัวอย่างเช่น OKRs ขององค์การ ได้แก่ O คือการส่งเสริม

                                             ให้เกิด Happy Workplace KRs วัดจากระดับความสุขของพนักงานใน
                                             องค์การประมาณ 90% ขึ้นไป ...เป็น OKRs ที่ก�าหนดขึ้นที่ต้องท�าให้เสร็จ
                                             ภายใน 1 ไตรมาส หรือภายในมกราคมถึงมีนาคม 2562


                                                   ถ่ายทอดมาสู่ OKRs ของหน่วยงาน ซึ่ง O ของหน่วยงาน HRD ก็คือ
                                             การเพิ่มระดับความสุขของพนักงานในองค์การ  มี KRs ที่วัดจากจ�านวน

                                             โครงการใหม่ ๆ ที่สร้างความสุขให้กับพนักงาน จ�านวน 3 โครงการ

                                                   ถ่ายทอดมาสู่ OKRs ของตัวบุคคล ซึ่ง O ของเจ้าหน้าที่ HRD ก็คือ
                                             การออกแบบโครงการใหม่ ๆ ที่สร้างความสุขให้กับพนักงานเพิ่มขึ้น มี KRs

                                             ข้อ 1) % ความส�าเร็จของโครงการที่น�าเสนอประมาณ 100% และ KRs
                                             ข้อ 2) % ความพอใจของพนักงานที่มีต่อโครงการฯ 90% ขึ้นไป
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20