Page 16 -
P. 16

ไพศาล เตมีย์   15




                       มีบริษัทแห่งหนึ่ง รับโอนลูกจ้างมาจากบริษัทอีกแห่งหนึ่งที่มี
                 การจ่ายเงินเดือนเดือนที่ 13 ก็เลยต้องรับสภาพการจ้างนี้มาด้วย

                 ต่อมามีการเลิกจ้างลูกจ้าง ปรากฏว่าลูกจ้างน�าคดีไปฟ้องศาลว่าจ่าย
                 ค่าชดเชยและเงินต่าง ๆ ที่ต้องจ่ายเมื่อให้ออกจากงานไม่ครบเนื่องจาก

                 ไม่ได้เอาเงินเดือนเดือนที่ 13 มาเป็นฐานค่าจ้างในการคิดค�านวณ

                       ว่าไปแล้ว เวลาเลิกจ้างพนักงาน ก็แทบไม่มีองค์กรไหนที่เอา
                 เงินโบนัสมาคิดเป็นฐานค่าจ้างเพื่อค�านวณค่าชดเชยหรอกครับ กรณีนี้

                 ก็เช่นกัน เขาไม่ได้เอาเงินเดือนเดือนที่13 มาเป็นฐานคิดค�านวณเพราะ
                 เห็นว่านั่นเป็นเงินโบนัส


                       เรื่องนี้ก็สู้กันไปถึงศาลฎีกา ปรากฏว่าศาลตัดสินว่า เงินเดือน
                 เดือนที่ 13 ที่ก�าหนดกันอย่างที่เล่ามานั้น “เป็นค่าจ้าง” นายจ้างไม่ได้
                 เอามารวมเป็นฐานค่าจ้างในการคิดเงินต่าง ๆ ที่ต้องจ่ายเมื่อให้

                 ออกจากงาน จึงแพ้คดีไปตามระเบียบ

                       ผมน�าเอาเรื่องนี้มาเขียน เพราะอยากให้องค์กรต่าง ๆ ระมัดระวัง

                 ประเด็นนี้ อย่าเผลอไปเรียก “โบนัส” ว่า “เงินเดือนเดือนที่ 13” จนเป็น
                 ที่เข้าใจกันทั่วไปว่าต้องได้เงินเดือนเดือนที่ 13 เป็นการประจ�าทุกปี

                 เพราะอาจไปเข้าข่ายว่าเป็น “ค่าจ้าง” ได้

                       ที่ส�าคัญก็คือ เรื่องจะไม่จบแค่เรื่องค่าชดเชยเพียงอย่างเดียว
                 เรื่องอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคิดค่าล่วงเวลา ค่าท�างานในวันหยุด

                 อีกทั้งเรื่องของเงินสมทบประกันสังคม ล้วนต้องใช้ค่าจ้างเป็นฐาน
                 ในการคิดค�านวณทั้งสิ้น ซึ่งก็จะพาลมีประเด็นไม่ถูกต้องไปหมด
   11   12   13   14   15   16   17