Page 4 -
P. 4

ตัวอย่าง OKRs
                                                              OBJECTIVES AND KEY RESULTS
                         ความในใจ                                 ดร.อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์
                                                                    Series II






                       Objectives and Key Results (OKRs) เครื่องมือการบริหารผลงานที่
                 ได้ “ใจ” และได้ “งาน” เป็นหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับ OKRs ที่ผู้เขียนเขียนขึ้นมา
                 ในเล่มนั้นจะเน้นแนวคิด ขั้นตอน และวิธีการท�า OKRs

                       ส�าหรับ “ตัวอย่าง OKRs (Objectives and Key Results)” เป็นเล่มที่
                 ต่อยอดเล่มนั้น โดยจะเน้นเรื่องตัวอย่างการเขียน OKRs ในฟังก์ชันงานต่าง ๆ
                 เพื่อการน�าไปปรับใช้ในองค์การ

                       หนังสือตัวอย่าง OKRs นี้จะเน้นการเขียนในเชิงปฏิบัติมากกว่าการเน้น
                 ที่ทฤษฎีหรือหลักการทางวิชาการ ตัวอย่างที่เขียนขึ้นมาโดยส่วนใหญ่มาจาก
                 ประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสสอนเรื่องการจัดท�าค�าบรรยายลักษณะงานของ
                 ต�าแหน่งงาน การก�าหนด Goal Setting และการก�าหนดปัจจัยวัดความส�าเร็จ
                 ของงาน (Key Performance Indicators : KPIs) รวมถึงเรื่องแนวคิดของ OKRs

                       ประสบการณ์เหล่านี้ส่งผลให้ผู้เขียนเข้าใจลักษณะงานของหน่วยงานและ
                 ต�าแหน่งงานในหลากหลายฟังก์ชันงาน กระทั่งกลายมาเป็นไอเดียในการเขียน
                 หนังสือตัวอย่าง OKRs ของฟังก์ชันงานต่าง ๆ ประมาณ 40 ฟังก์ชันงาน
                       การอ่านหนังสือเล่มนี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด  ขอให้ผู้อ่านศึกษาแนวคิดเรื่อง
                 OKRs จากหนังสือ  Objectives and Key Results (OKRs) เครื่องมือการบริหาร
                 ผลงานที่ได้ “ใจ” และได้ “งาน” เสียก่อน  เมื่อเข้าใจกรอบแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้
                 แล้ว ก็ค่อยมาต่อยอดในการน�าตัวอย่างเกี่ยวกับ OKRs ไปปรับใช้จริงในองค์การ
                 ต่อไป

                       หนังสือเล่มนี้เน้นตัวอย่างของ OKRs ที่จะท�าให้ผู้อ่านมองเห็นแนวทาง
                 ในการจัดท�า OKRs ขององค์การท่าน ผู้เขียนมุ่งหวังว่าผู้อ่านจะน�าตัวอย่างไป
                 ปรับใช้ให้เหมาะสมในการท�า OKRs ตามบริบทขององค์การนะคะ ในการอ่าน
                 จึงไม่จ�าเป็นจะต้องอ่านทีละตัวอย่าง ผู้อ่านสามารถอ่านเฉพาะบางตัวอย่างที่
                 สนใจจะน�าไปปรับใช้ก็ได้ค่ะ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9